ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เอเชียนเกมส์ 2010

เอเชียนเกมส์ 2010 เป็นการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 จัดขึ้นที่นครกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12 ถึง 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 นับเป็นนครแห่งที่สองของจีน ที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันรายการนี้ หลังจากเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยในการแข่งขันครั้งนี้มี 45 ประเทศเข้าร่วม กีฬาที่จัดแข่งขัน 42 ชนิด รวมจำนวนเหรียญทอง 476 เหรียญ ทั้งนี้ ยังมีเมืองใกล้เคียงอีกสามแห่ง ร่วมเป็นเจ้าภาพกับกว่างโจวด้วยคือ เมืองตงก่วน โฝซาน และซั่นเหว่ย นอกจากนั้น ในเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ ยังมีการเริ่มทดลองบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 17 ในปี พ.ศ. 2557 ที่นครอินชอน ของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) อีกด้วย

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 มีพิธีประกาศผลการเสนอชื่อ เป็นเมืองเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 15 ที่กรุงโดฮา ของรัฐกาตาร์ โดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย มีมติมอบสิทธิการเป็นเจ้าภาพดังกล่าวแก่นครกว่างโจว ด้วยเหตุที่ก่อนหน้านั้น เมืองที่เคยเสนอชื่อเป็นเจ้าภาพ ต่างก็ขอถอนตัวไปด้วยสาเหตุที่แตกต่างกัน โดยโซลของเกาหลีใต้ขอถอนตัว เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า เมืองของเกาหลีใต้ เพิ่งเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งหลังสุด ก่อนหน้า พ.ศ. 2553 เพียงแปดปีหรือสองครั้งเท่านั้น กล่าวคือ เมืองปูซานเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ เมื่อปี พ.ศ. 2545 มาแล้ว ส่วนกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ถอนตัวเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติบังคับ เนื่องจากเห็นว่าค่าใช้จ่ายสำหรับจัดการแข่งขันสูงเกินไป เป็นผลให้มีเพียงนครกว่างโจวเท่านั้น ซึ่งยังคงการเสนอชื่อครั้งนี้

สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน เป็นภาพลายเส้นของอนุสาวรีย์แพะห้าตัว ซึ่งเป็นตำนานของการสร้างนครกว่างโจว ส่วนตุ๊กตาสัญลักษณ์ เป็นแพะห้าตัว มีชื่อว่า อาเซียง อาเหอ อาลู่ อาอี้ และ เล่อหยางหยาง โดยเมื่อนำชื่อทั้งห้ามารวมกัน จะได้คำว่า ??????? (เซียงเหอลู่อี้เล่อหยางหยาง) ซึ่งแปลว่า "สันติภาพ, สามัคคี และความสุข ในทุกๆ อย่างที่คุณปรารถนา"

พิธีเปิดการแข่งขันกีฬ่าเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 จัดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 บนเกาะไห่ซิงซา ที่สร้างขึ้นกลางแม่น้ำจูเจียง ซึ่งแปลว่าไข่มุก ในเขตเทียนเหอของนครกว่างโจว ภายใต้แนวความคิดหลักคือ "แผ่นดินและทะเล" นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ ที่การจัดพิธีเปิดการแข่งขันมิได้เกิดขึ้นในสนามกีฬา การแสดงทั้งหมดในพิธีเปิดกำกับโดย เฉิน เว่ยหยา ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดงในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[ต้องการอ้างอิง] ในพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ฌัก โรคเคอ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล, ชีค อะห์เหม็ด อัล-ฟะฮัด อัล-ซะบะฮ์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เป็นต้น

พิธีเปิดเริ่มจากกระบวนเรือจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมแข่งขัน นำนักกีฬาเข้าสู่บริเวณสถานที่จัดแสดง สำหรับเรือของประเทศไทย มีโขนเรือเป็นรูปครุฑ และมีพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามอยู่กลางลำเรือ ส่วนในพื้นที่แสดง มีการติดตั้งจอภาพผลึกเหลว (แอลซีดี) ลักษณะคล้ายใบเรือสำเภาจีน จำนวน 8 จอ โดยพิธีอย่างเป็นทางการเริ่มในเวลา 20.00 น. (8 นาฬิกากลางคืน) ตามเวลาท้องถิ่น โดยจุดพลุที่หอคอยกวางตุ้ง (หอส่งสัญญาณโทรทัศน์และทัศนียแห่งกว่างโจว) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงอันดับเจ็ดของโลก จากนั้นจึงเป็นการคลี่จอแอลซีดีแบบโปร่งใสพับได้ออก ต่อด้วยการเชิญธงชาติจีนขึ้นสู่ยอดเสา ต่อมาจึงเป็นการแสดงในพิธีเปิด 4 ชุด ซึ่งสื่อให้เห็นว่านครกว่างโจวเป็นเมืองท่าที่สำคัญของจีน การแสดงที่สำคัญคือ การขับร้องเพลงโดย จาง จื่ออี๋ นักร้องและนักแสดงชาวจีน, หลาง หล่าง นักเปียโนชาวจีน, คิม ฮย็อนจุง นักร้องชาวเกาหลี เป็นต้น และการแสดงกายกรรม 4 มิติ ร่วมกับภาพบนจอแอลซีดีทั้งแปด โดยมีนักแสดงกายกรรมจำนวน 180 คนโยงกับลวดสลิง และดึงขึ้นไปสูงจากพื้น 80 เมตร ซึ่งใช้ผู้เชิดจำนวนกว่า 1,000 คน

ต่อมาเป็นช่วงประกอบกระถางคบเพลิง โดยนำน้ำจากแหล่งธรรมชาติของทั้ง 45 ประเทศ มาเทลงในกระถางคบเพลิง พร้อมการแสดงที่ผสมผสานเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศในเอเชีย โดยแบ่งตามภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียกลางตามลำดับ โดยในช่วงดังกล่าวมีการฉายภาพสถานที่สำคัญและเมืองสำคัญของทุกประเทศในเอเชีย สำหรับประเทศไทย เจ้าภาพได้ฉายภาพพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ภาพมุมสูงของกรุงเทพมหานคร และประติมากรรมช้างสองเชือกชูซุ้มบริเวณถนนราชดำเนิน ในช่วงสุดท้ายของการแสดงในพิธีเปิด มีการขับร้องเพลงโดยนักร้องจากจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ นักแสดงจากทุกชุดได้ออกมาอีกครั้ง พร้อมกันนั้นเสาทั้งสี่ได้ยกกระถางคบเพลิงสูงจากพื้น เมื่อการแสดงจบลงได้มีการแสดงสกีผาดโผนเป็นการคั่นเวลาในการปรับพื้นที่แสดงต่อไป

จากนั้นเป็นการเดินขบวนของคณะนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ของประเทศต่างๆ ตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ โดยนักกีฬาจะเดินออกมาจากส่วนกลางด้านหลังของพื้นที่จัดแสดง เช่นเดียวกับพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ที่กรุงโดฮา นำโดยหญิงสาวถือป้ายชื่อประเทศที่มีส่วนบนโปร่งใส แสดงชื่อประเทศเป็นอักษรจีนและอังกฤษตามลำดับ ส่วนล่างเป็นภาพสถานที่สำคัญของประเทศนั้นๆ พร้อมทั้งมีการบรรเลงเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติเมื่อนักกีฬาเดินถึงจุดเลี้ยวด้านหน้าประธาน และจอแอลอีดีจะฉายภาพธงชาติพร้อมสถานที่สำคัญของประเทศนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ ขบวนของประเทศไทย เข้าสู่สถานที่จัดแสดงเป็นลำดับที่ 39 โดยป้ายส่วนล่างเป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม และ พระบรมมหาราชวัง ซึ่งเจ้าภาพต้อนรับด้วยการบรรเลงเพลง รำวงลอยกระทง และมี ดนัย อุดมโชค นักเทนนิสมือวางอันดับหนึ่งของทีมชาติไทย เป็นผู้เชิญธงชาติไทยนำขบวน ส่วนประเทศจีนเจ้าภาพนั้น ป้ายส่วนล่างเป็นรูปอนุสาวรีย์แพะ หอฟ้าเทียนถาน และศาลาประเทศจีนในงานเอกซ์โป 2010 ที่นครเซี่ยงไฮ้

สำหรับพิธีจุดไฟในกระถางคบเพลิง โดยนักกีฬาทีมชาติจีนทั้งอดีตและปัจจุบันเป็นผู้เชิญไฟ เริ่มจาก วู ซูจง นักพายเรือมังกร ซึ่งวิ่งขึ้นมาจากกลางลำน้ำจูเจียง, เฉิน ยี่ปิง นักยิมนาสติก, หง จื้อหัง อดีตนักฟุตบอล, เติ้ง หย่าผิง อดีตนักเทเบิลเทนนิสเหรียญทองโอลิมปิก 1992 และ 1996 ส่วนผู้จุดคบเพลิงคือ เหอ ซง นักกระโดดน้ำ เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โดยจุดประทัดยักษ์ที่เด็กชายหญิงชาวจีน นำมาวางใต้กระถางคบเพลิง ซึ่งยกสูงขึ้นกลางสถานที่จัดแสดง ให้ลูกไฟพุ่งขึ้นไปจุดคบเพลิง เป็นสัญญาณว่าการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ

พิธีปิดการแข่งขัน กำหนดจัดในคืนวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ สถานที่เดียวกับพิธีเปิด โดยพิธีเปิดเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 20.00 น.(เวลาของจีน) หรือ 19.00 น.(เวลาของประเทศไทย)ชื่งมีการแสดง 2 ชุด ชุดเจ้าภาพ และ ชุดเจ้าภาพครั้งต่อไป และมีการเชิญนักกีฬาเข้าสู่สนาม เรียงลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ และเชิญธงโอชีเอลงจากยอดเสา จากนั้น เชิญธงโอชีเอให้กับ เจ้าภาพครั้งต่อไป รับธงโดย เรน ศิลปินเกาหลีไต้ และมีการเชิญธงเกาหลีใต้ขึ้นสู่ยอดเสา จากนั้นมีการแสดงเพลงของเรน และมีพิธีสุดท้าย คือการดับกระถางคบเพลิง

การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ในครั้งนี้ สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ของนครกว่างโจวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์สำหรับถ่ายทอดการแข่งขันทางโทรทัศน์ในประเทศไทย ให้แก่กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อถ่ายทอดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) และโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) เพื่อถ่ายทอดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยใช้ระบบหมุนเวียนเรียงช่อง และแบ่งการถ่ายทอดเป็นสองช่องในกรณีพิเศษ เช่น พิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขัน หรือระหว่างถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลชายทีมชาติไทย เป็นต้น

ทั้งนี้ สทท.และ ทรท.จัดเวลานำเสนอการแข่งขันทุกวัน ด้วยการถ่ายทอดสดเป็นหลัก ร่วมกับการบันทึกภาพ เพื่อนำออกอากาศในช่วงเวลาถ่ายทอด หลังการแข่งขันสิ้นสุดลงอีกบางส่วน สำหรับช่วงเวลาถ่ายทอดในแต่ละวัน ทาง สทท.กำหนดภาคเช้า ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. (เฉพาะวันอาทิตย์ เริ่ม 10.00 น.), ภาคบ่าย ระหว่างเวลา 13.00-17.00 น. และภาคค่ำ ระหว่างเวลา 18.00-20.00 น. รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 9 ชั่วโมงต่อวัน และ ทรท.กำหนดภาคเช้า ระหว่างเวลา 10.00-12.00 น. และภาคบ่าย ระหว่างเวลา 14.00-18.00 น. รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ ทั้ง สทท.และ ทรท.ยังกำหนดช่วงเวลาพิเศษ หลังการถ่ายทอดภาคบ่าย ในกรณีที่การแข่งขันของนักกีฬาทีมชาติไทยยังดำเนินอยู่ ซึ่งจะขยายออกไปจนกว่าจะจบการแข่งขันนั้นๆ

อนึ่ง ระหว่างวันอังคารที่ 23-วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน สทท.มีภารกิจในการถ่ายทอดสด การประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 จึงจำเป็นต้องยกเลิกช่วงเวลาถ่ายทอดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่มีอยู่ตามปกติในวันดังกล่าว โดยทาง สทท.แจ้งให้ผู้ชมทราบ ผ่านอักษรวิ่งด้านล่างจอโทรทัศน์ว่า หากมีการแข่งขันที่นักกีฬาทีมชาติไทยเข้าชิงเหรียญทอง สถานีฯจะเข้าสู่การถ่ายทอดการแข่งขันนั้นจนจบ แล้วจึงถ่ายทอดสดการประชุมรัฐสภาต่อไป


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406